วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2551

บทโหมโรง พลังงานชีวภาพ ทองเขียว หรือ แค่น้ำมันพืช?

ทั้งนี้ กระผมขอเริ่มเรื่องราวว่าด้วย วิกฤตการ ทางด้านพลังงานที่เราทุกคนกำลังเผชิญกันอยู่ ณ ขณะนี้เลยแล้วกันนะครับ ไม่มีคำนำและคำโปรยหัวแบบสวยหรูใดๆทั้งสิ้น โดยจะเขียนแบบง่ายๆอ่านสบายๆให้คนทุกเพศทุกวัยอ่านได้ครับ

ก่อนอื่นขอเท้าความถึงตัวปัญหา เจ้า “ทองสีดำ” ซึ่ง ถ้าไม่นับการที่มนุษย์เรานั้น ใช้ไขมันจากสัตว์หรือฟอสซิลธรรมชาติมาใช้ในการให้ความร้อน ทำอาหารและหล่อลื่นเคลือบผิวโลหะวัสดุซึ่งใช้กันมาตั้งแต่เมื่อ 5,000ปีที่แล้วโดยประมาณ ซึ่งก็มีทั้งน้ำมันจากสัตว์ น้ำมันจากพืชต่างๆ แบบเดียวกันที่ใช้จุดคบไฟนั่นแหละครับ แต่การทำอาหารนั้นผมมั่นใจว่าคนสมัยก่อนส่วนมาก ไม่ได้กินผัดผัก หมูทอดกระเทียมแบบเราหรอกครับ เพราะ มันถนอมอาหารไม่ได้ ไม่มีตู้เย็น หรือ สิ่งใดที่จะมาเก็บของที่ปรุงเสร็จแบบนี้ได้ จึงเป็นลักษณะของการถนอมอาหารแบบตากแห้งดองเค็มแช่อิ่มซะมากกว่า เพราะฉนั้นถ้าเห็นหนังจีนหรือหนังฝรั่งโบราณใช้กระทะทอดไก่ก็ชี้หน้าด่าได้เลยว่าสร้างมั่ว!
จุดพลิกผันของชีวิตทองดำนั้นเกิดขึ้น หลังจากซ่อนตัวอยู่ใต้หินใต้ดินมานาน มันก็ได้มีโอกาสออกมาแสดงความร้อนแรง โดยผู้ที่ริเริ่มการขุดน้ำมันขึ้นมาใช้เพื่อการพานิชย์คือ นาย Edwin Drake ใน ปี คศ.1859 บ่อน้ำมันแรกนั้นอยู่ที่รัฐ Pennsylvania ถูกขุดลึกลงไป 69 ฟุต และสามารถผลิต น้ำมันดิบ 15 บาเรล ต่อวัน ใน ยุคต้นๆของการใช้น้ำมันนั้นมันยังเป็นการใช้ต่อเครื่องจักที่ใช้การเผาไหม้โดยตรงให้ความร้อนสร้างแรงดันไอน้ำซะเสียมาก ส่วนน้ำมันสำหรับเครื่องจักรแบบอัดฉีดที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอันใหญ่หลวงนั้นมีการริเริ่มใช้ครั้งแรกโดย Rudolf Christian Karl Diesel ผู้ที่คิดค้นเครื่องยนต์จุดระเบิดภายในด้วยแรงอัดเป็นคนแรกของโลก (ดีเซล) นั้นเอง
เนื่องด้วยเหตุผลประการทั้งปวง หรือสิ่งใดมาดลใจ อาจเป็นเพราะนึกตลกอยากลองน้ำมันถั่วเหลืองผัดถั่วงอกมาใช้กับเครื่องยนต์สุดจะพิศสมัย ทำให้เขาใช้น้ำมันจากถั่วลิสงทำการทดลองจนประสบผลสำเร็จ คิดค้นน้ำมันไบโอดีเซล เป็นคนแรกของโลก โดยนำถั่วลิสงไปคั้นได้น้ำมัน มาใช้กับเครื่องยนต์ที่เขาคิดค้นปรับปรุงขึ้นใหม่ได้สำเร็จ โดยไม่ผสมสารใดๆในน้ำมันถั่วลิสง แต่ด้วยเหตุที่ว่า ในยุคนั้น การขุดเอาง่ายกว่า มานั่งปลูกถั่วคั้นน้ำ แถม เครื่องยนต์ยังใจเสาะ แรงน้อย สู้ความร้อนแรงของ ดีเซล และ เบนซิน ผลผลิตอัพเกรดของเจ้าทองดำ ซึ่งถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายและเป็น กุญแจหลักของการพัฒนามวลรวมของมนุษย์ชาติแบบก้าวกระโดดใช้เวลาเพียง 2 ชั่วอายุคนกว่าๆเท่านั้นจากขี่ม้าขี่ควายเป็นขี่จรวดไปเหยียบดวงจันทร์ จึงทำให้ถั่วลิสงรอดตัวจากการถูกบีบถูกคั้นไปได้เกือบศตวรรษ
ทั้งนี้จะเห็นได้ชัดว่า ไบโอดีเซล นั้นไม่ใช่ของใหม่แต่อยากใด เพียงแต่ภายใต้ภาพลักษณ์ น้ำมันถัวเหลืองนั้น อาจมีกุญแจซ่อนหนทางแก้ไขวิกฤตพลังงานก็เป็นได้
กลับมาที่ ทองดำ ซุปเปอร์สตาที่ผู้คนคลั่งใคล้ลุ่มหลง มิใช่จุดไฟติดได้ดีอย่างเดียว ยังจุดชนวนสงครามได้อย่างดีอีกด้วย ว่ากันว่า ดินปืนเปลี่ยนแปลงรูปแบบสงครามอย่างสิ้นเชิง แต่ น้ำมันนั้นคือสิ่งที่นำดินปืนไปสู่สมรภูมิ และเปลี่ยนแปลงเมืองทั้งเมืองในชั่วข้ามคืน ประเทศมหาอำนาจที่งมโข่งอยู่กับแผ่นดินกว้างใหญ่ที่ไร้น้ำมัน จึงต้องปิดฉากลงกันให้เห็นเพราะ สิ่งเดียวที่กระตุ้นการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมคือน้ำมันที่ใช้หล่อเลี้ยงเครื่องจักร (สมัยนั้นเครื่องจักรใหญ่ต้องใช้น้ำมันกำเนิดพลังงานเอง เนื่องจากเสาไฟฟ้าที่ต่อตรงจากโรงงานไฟฟ้าให้พลังงานไม่เพียงพอ) อุตสาหกรรมพัฒนาเครื่องจักร เครื่องจักรพัฒนาผลผลิต ผลผลิตมากคือความมั่งคั่งมากและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทำให้เกิดบุคคลากรที่มีคุณภาพ บุคคลากรที่มีคุณภาพพัฒนาประเทศชาติ และ ทั้งหมดนี้ถูกนำไปใช้ในการสงคราม และ หลังจากที่ทองดำแจ้งเกิดปรากฎตัวต่อมนุษยชาตินั้นได้ ไม่นาน สงครามครั้งใหญ่ก็ได้อุบัติขึ้นด้วยความร้อนแรง รวมถึง สงครามที่เผาผลาญชีวิต ทรัพสินทรัพยากรธรรมชาติมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา สงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น ก็เพิ่งจบลงไปไม่ถึง 70 ปีนี้เอง แค่ช่วงชั่วอายุเดียวเท่านั้น ผมยังนึกภาพไม่ออกในสมัยที่ไทยรบกับฝรั่งเศษ ยุทธนาวีเกาะช้าง ว่ายุคนั้นเรามีอะไรแบบนั้นแล้วหรือ ไปเอาน้ำมันมาจากไหนหละนั่น คงต้องเสียเงินเสียทองมหาศาลเป็นแน่แท้ หรือว่าเรือเหล่านั้นยังใช้กลไฟไอน้ำอยู่ แต่ผมคิดว่าไม่ใช่เพราะหน้าตาบ่งบอกยี่ห้อตัวกินน้ำมันชั้น 1 ได้อย่างดี

เกร็ดความรู้ข้อมูลคร่าวๆจาก Wiki

รูปเรือหลวงธนบุรี

ฝ่ายไทย (ราชนาวีไทย)ฝ่ายไทยได้จัดกำลังเรือ 1 หมวด เพื่อรักษาพื้นที่อ่าวไทยบริเวณเกาะช้าง ประกอบด้วย
เรือหลวงธนบุรี เรือปืนยามฝั่ง ระวางขับน้ำ 2,350 ตัน มีนาวาโทหลวงพร้อมวีระพันธ์ (ได้เลื่อนยศเป็นนายนาวาเอกภายหลังสิ้นสุดกรณีพิพาทอินโดจีน) เป็นผู้บังคับการเรือและผู้บังคับหมวดเรือ
เรือหลวงสงขลา เรือตอร์ปิโด ระวางขับน้ำ 460 ตัน มีนาวาตรีชั้น สิงหชาญ เป็นผู้บังคับการเรือ
เรือหลวงชลบุรี เรือตอร์ปิโดรุ่นเดียวกับเรือหลวงสงขลา ระวางขับน้ำ 460 ตัน มีเรือเอกประทิน ไชยปัญญา เป็นผู้บังคับการเรือ
เรือหลวงระยอง เรือตอร์ปิโดรุ่นเดียวกับเรือหลวงสงขลา ระวางขับน้ำ 460 ตัน มีนาวาตรีใบ เทศนะสดับ เป็นผู้บังคับการเรือ
เรือหลวงหนองสาหร่าย ระวางขับน้ำ 460 ตัน มีเรือเอกดาวเรือง เพชรชาติ เป็นผู้บังคับการเรือ
เรือหลวงเทียวอุทก ระวางขับน้ำ 50 ตัน

ฝ่ายฝรั่งเศส (หมวดเรือเฉพาะกิจที่ 7)
เรือลามอตต์ ปิเกต์ (Lamotte Picquet) เรือลาดตระเวนเบา ระวางขับน้ำ 7,880 ตัน ใช้เป็นเรือธง มีนาวาเอกเรจี เบรังเยร์ (Capitaine de Vaisseau Regis Beranger) เป็นผู้บังคับการเรือและผู้บังคับหมวดเรือเฉพาะกิจที่ 7
เรืออามิราล ชาร์เนร์ (Amiral Charner) เรือสลุป ระวางขับน้ำ 2,165 ตัน
เรือดูมองต์ ดูร์วิลล์ (Dumont d'Urville) เรือสลุปชั้นเดียวกันกับเรืออามิราล ชาร์เนร์ ระวางขับน้ำ 2,165 ตัน
เรือมาร์น (Marne) เรือช่วยรบ (ฝรั่งเศสจัดเป็นเรือสลุป) ระวางขับน้ำ 644 ตัน
เรือตาอูร์ (Tahure) เรือช่วยรบ (ฝรั่งเศสจัดเป็นเรือสลุป) ระวางขับน้ำ 600 ตัน
เรือสินค้าขนาดใหญ่ติดอาวุธ 1 ลำ
เรือดำน้ำ 1 ลำ

ผลการรบสรุปไม่ได้ครับสำหรับผู้สนใจอ่านอ่านต่อได้ที่http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87

แต่สำหรับผมไอแบบนี้เค้าเรียกว่าแพ้ยับ ด้วยกำลังที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัด แต่นับเป็นการแสดงความกล้าหาญได้อย่างจับใจ


มาต่อกันเรื่องน้ำมัน หลังจบสงครามแล้ว ระบอบอนานิคม แบบปกครองเพื่อแย่งทรัพยากรนั้นได้ดูอ่อนลง เนื่องจากมหาอำนาจจากเมืองผู้ดีอ่อนแรง เพราะแพ้ดินปืน ที่ท่านผู้นำหนวดสี่เหลี่ยมระดมยัดเข้าไปแบบ เดลิเวอรี่ ถึงหน้าบ้าน ฝรั่งเศษนั้นราบคาบไปแล้ว เยอรมัน ญี่ปุ่นย่อยยับ จีนก็ยังประสบอยู่กับปัญหาเดิมๆคือบ้านเมืองแตกแยกเป็นฝักฝ่ายไม่ต้องไปพูดถึง อิตาลี่ ที่ ทั้งเสียเกรียติทั้งชอกช้ำใจ สเปน มหาอำนาจตกยุค หรือ ประเทศแถบบ้านเราที่ตกอยู่ใต้อำนาจญี่ปุ่นทั้งนั้น จึงคงเหลือเพียง สหรัฐ และ โซเวียต เท่านั้น ที่ช่วยกันกระทืบเยอรมันจมดิน โดยยังเหลือขุมกำลังอีกมากมาย สถานการณ์ในโลกยุคนั้น ผลักดันให้ทุกชาติที่เคยเป็นเมืองขึ้น อยากปลดแอก เกิดคนอย่างคานธี โฮจิมินห์ และ อื่นๆอีกหลายท่านที่ไม่ได้เอ่ยถึง เมื่ออังกฤษยอมคายดินแดนตัดประเทศแบ่งให้กับผู้ช่วยเหลือในการสงครามเสร็จสรรพ นายทุนเจ้าใหม่ก็รีบเข้าตระครุบเหยื่ออย่างรวดเร็ว เพราะเห็นถึงความสำคัญของดาวเด่น และ การเข้าไปนั้นก็ส่งผลให้โลกหมุนติ้วอีกครั้ง หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการสร้างบ้านเมืองใหม่มากที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์โลก ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมแซมสิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึง การขยายออกของเมือง นั้นล้วนมาจากการเข้าไปจัดการระบบขุดเจาะน้ำมันในประเทศแถบตะวันออกกลางอย่างมีประสิทธ์ภาพ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรมต่างๆ คนอยู่ดีขึ้นจำนวนเยอะขึ้นเมืองก็ขยายเทคโนโลยีก็ไฮเทคขึ้นตามกันไป จุดนี้เองได้เกิดสิ่งที่เรียกว่าวิกฤตการ ราคาน้ำมัน 2516 ปรากฏการ เนื่องจากทั่วโลก มีความต้องการในสิ่งเดียวกันในเวลาเดียวกัน ณ ตอนนี้ ที่เดนมาร์กแผนการพัฒนาพลังงานแบบยั่งยืนได้เริ่มขึ้น โดยหันมาดำเนินงานพัฒนาพลังงานทางเลือกใหม่อย่างจริงจัง ลดปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และลดการใช้พลังงานจากฟอสซิล หันมาใช้พลังงานลม พลังงานชีวมวล พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ อย่างจริงจัง กระนั้น ประเทศไทยยุคนั้นยังไม่ได้ใกล้เคียงความคิดเหล่านี้แม้แต่น้อย และวิกฤตการทุกครั้งมักเพ่งเล็งแก้ปัญหาแบบคนไทยคือ แพงก็ไม่ต้องใช้ ประหยัดหน่อยสิ บ้านมีบ่อน้ำมันหรือไง ที่กล่าวนี้ไม่ได้ตราหน้าว่าความคิดเหล่านี้ผิด แต่เป็นแนวทางคิดที่มิใด้ใช้พลังแห่งจินตนาการ รังสรรค์ออกมาก่อนที่จะเป็นนโยบาย ดังนั้น เราได้ออกตัวช้ากว่าหลายๆประเทศไปแล้วอย่างแน่นอน เพียงแต่ถ้าคิดแบบไม่สร้างสรรค์อีก ก็คือ ช้าแล้วช้าเลย รอคนอื่นคิดเดี๋ยวซื้อเอา มันคงจะง่ายเกินไป เพราะฉนั้นบทต่อไปผมจะนำเสนอ โครงการวิจัยต่างๆ และ เหล่าคนที่มีความคิดเชิงสร้างสรรค์ ผู้ที่อาจนำพาพลังงานทดแทน ที่เรียกว่า พลังงานชีวภาพ มาสู่ชาวไทยในเร็ววัน บทโหมโรงจึงปิดลงแต่เพียงเท่านี้เพื่อไม่ให้เยิ่นเย้อและออกนอกเรื่องไปมากกว่านี้

ไม่มีความคิดเห็น: